วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพ


การไหว้พระ 9 วัด ในกรุงเทพ เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นกิจกรรมของพุทธศาสนิกชน เป็นการสร้างบุญบารมี ทำทานเพื่อลดความตระหนี่ บทความนี้จึงขอนำเสนอ ทริปท่องเที่ยวในกรุงเทพ ด้วยการแนะนำการไหว้พระ 9 วัดในกรุงเทพ โดย  9 วัดที่เป็นเป้าหมายในการทำบุญครั้งนี้จะเป็นวัดอารามหลวงในกรุงเทพ ซึ่งมีชื่อเป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิตเหมือนเป็นแรงใจ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมกันเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญทั้ง 9 วัดตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ห่างกันมากสามารถเดินทางโดยอาศัยรถสาธารณะหรือรถรับจ้างในราคาที่ไม่แพงมากได้ครับ แต่ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของชื่อวัดอารามหลวงทั้ง 9 วัดกันครับ

1.       วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "มีคนนิยมชมชื่น มีชื่อเสียงโด่งดังตลอดปี" 

2.       วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือวัดแจ้ง เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "มีชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน" ตั้งอยู่ถนน อรุณอัมรินทร์

3.       วัดกัลยาณมิตร คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "ทำให้เดินทางปลอดภัยและมีมิตรไมตรีที่ดี" ตั้งอยู่ถนน อรุณอัมรินทร์

4.       วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "ชีวิตร่มเย็นเป็นสุข" ตั้งอยู่ถนน อรุณอัมรินทร์

5.       วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ  "เพื่อให้มีจิตใจสะอาดดุจรัตนตรัย" 

6.       วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ  "มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง" 

7.       วัดบวรนิเวศวิหาร คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "พบแต่สิ่งดีงามในชีวิต" 

8.       วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "เสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล" 

9.       วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คติความเชื่อของการไหว้พระที่วัดนี้คือ "มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์ต่อคนทั่วไป" 

ทริปการไหว้พระ 9 วัดในกรุงเทพ ผมขอแนะนำเริ่มต้นกับวัดที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีก่อนครับ โดยขอให้เริ่มต้น การไหว้พระทำบุญประมาณ 07.00 น การเดินทางของเราเริ่มจากสี่แยกอรุณอัมรินทร์และมุ่งสู่ถนนอรุณอัมรินทร์ โดยท่านผู้อ่านที่มาจาก ถนน บรมราชชนนี ให้เลี้ยวขวา ท่านที่มาจากสะพานพระปิ่นเกล้า ให้เลี้ยวซ้าย และท่านที่มาจากสะพานพระราม 8  ให้วิ่งตรงไป ท่านจะพบกับวัดระฆังโฆสิตาราม วัดอรุณราชวราราม และวัดกัลยาณมิตร ตามลำดับ (ทั้งสามวัดอยู่ด้านซ้ายมือ)  ผมแนะนำการไหว้พระสำหรับวัดฝั่งธนบุรีไว้ 2 แนวทาง
สำหรับการยึดท่าเรือวัดอรุณฯ เป็นตำแหน่งข้ามมาฝั่งพระนครที่ท่าเตียนเพื่อไปไหว้พระที่วัดพระเชตุพนฯนะครับ

แนวทางที่ 1 เริ่มจากวัดกัลยาณมิตร ย้อนมาที่วัดอรุณราชวราราม และจอดรถที่วัดระฆังโฆสิตาราม (ทางวัดมีอาคารที่จอดรถให้อย่างดี โดยคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง) จากนั้นนั่งเรือเจ้าพระยาจากท่าเรือวัดระฆังโฆสิตารามไปยังท่าเรือวัดอรุณราชวรารามต่อด้วยนั่งเรือข้ามฟากไปยังท่าเตียนฝั่งพระนครเพื่อไปไหว้พระฝั่งพระนครต่อไป

แนวทางที่ 2 เหมาะสำหรับผู้เดินทางด้วยรถประจำทาง ให้ท่านเริ่มไหว้พระที่วัดระฆังโฆสิตารามต่อด้วยวัดกัลยาณมิตร และนั่งเรือเจ้าพระยาจากท่าเรือวัดกัลยาณมิตรย้อนมาท่าเรือวัดอรุณราชวรารามต่อด้วยนั่งเรือข้ามฟากไปยังท่าเตียนฝั่งพระนครเพื่อไปไหว้พระฝั่งพระนครต่อไป
สำหรับท่านที่ยึดท่าเรือวัดระฆังเป็นตำแหน่งข้ามฝั่งพระนครที่ท่าช้าง ณ ตำแหน่งนี้เราจะไหว้พระที่วัดพระแก้วเป็นตำแหน่งแรก ซึ่งจะสลับไปวัดพระแก้วและศาลหลักเมืองก่อนไปวัดพระเชตุพนฯ เป็นลำดับถัดไปในโซนที่ 1

ข้อควรจำ เรือโดยสารเริ่มต้นให้บริการ เก้าโมงเช้า
สำหรับการไหว้พระ 9 วัดในกรุงเทพ ฝั่งพระนคร อีก 6 วัด ผมขอแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2 วัดที่ใกล้กันครับ (เวียนซ้าย) ก่อนอื่นหลังจากข้ามฟากมายังท่าเตียนแล้วแนะนำให้รับประทานอาหารเช้ากันที่นี่ครับ มีอาหารเช้าให้เลือกหลากหลาย ทั้งหมูปิ้ง ข้าวต้ม กาแฟ หรือข้าวราดแกงให้เลือกมากมายครับ หลังจากอิ่มจากมือเช้าแล้ว เรา โดยจะเริ่มจากวัดพระเชตุพนซึ่งอยู่ใกล้กับท่าเตียนเป็นวันแรกครับ ผมขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านไหว้พระในฝั่งธนบุรีให้เรียบร้อยไม่เกิน 9 โมงครับและรับประทานอาหารกันให้เรียบร้อยไม่เกิน 9.30 ครับเนื่องจากวัดพระเชตุพน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวและไหว้พระเป็นจำนวนมากครับ หลังจากไหว้พระเสร็จแล้ว ท่านจะเดินหรือจะนั่งสามล้อเครื่องก็ได้เพื่อไปไหว้พระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ซึ่งอยู่ห่างไปเพียงเล็กน้อยโดยไปตามถนน มหาไชย  และที่สำคัญนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนเยอะมากเช่นกัน เราจึงต้องไปไหว้พระทั้งสองวัดนี้ตั้งแต่เช้าครับ ที่สำคัญวัดพระแก้วนี้ ท่านผู้อ่านจะต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย กางเกงขาสั้นหรือสวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมมิเช่นนั้นท่านจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าวัดนะครับ (มีบริการเช่ากางเกงอยู่ตรงประตูทางเข้า ตัวละ 50 บาท)  หลังจากไหว้พระวัดพระแก้วเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถแวะสักการะศาลหลักเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามเยื้องๆกันได้ครับ จากนั้นเราจะไปไหว้พระของวัดในโซนที่ 2 กันครับ นั่นคือ วัดชนะสงครามและวัดบวรนิเวศวิหาร ต้องอาศัยสามล้อเครื่องหรือรถเมล์ครับ โดยเริ่มจากไหว้พระที่วัดชนะสงครามซึ่งตั้งอยู่บนถนนจักรพงษ์ ใกล้ๆถนนข้าวสาร เมื่อไหว้พระวัดชนะสงครามเสร็จแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถหาของกินและขนมซึ่งมีเยอะมากในบริเวณนี้ หลังจากนั้นจะไปไหว้พระกันที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ ถนนพระสุเมรุตัดกับถนนจักรพงษ์ สุดท้ายต้องอาศัยสามล้อเครื่องเพื่อวิ่งข้ามฝากถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปไหว้พระและพระบรมสารีริกธาตุบนภูเขาทองที่วัดสระเกศ ถนนบริพัตร และวัดสุดท้ายคือวัดสุทัศนฯซึ่งตั้งอยู่ใกล้เสาชิงช้าหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครและศาลเจ้าพ่อเสือ จากนั้นท่านผู้อ่านก็เดินทางกลับไปยังท่าเตียนเพื่อนั่งเรือข้ามฝากมายังวัดอรุณราชวรารามสำหรับท่านที่จอดรถที่วัดระฆังฯก็ต้องนั่งเรือไปยังท่าเรือวัดระฆังฯก็เป็นอันจบการเดินทางไหว้พระ 9 วัดในกรุงเทพ

การแบ่งโซนของวัดเป็นสามโซน ดังกล่าว วัดในโซนที่ 1 อยู่ไม่ไกลกันมาก ท่านผู้อ่านสามารถเดินไปตามทางเท้าได้ ในส่วนของการเดินทางจากโซนที่ 1 ไป 2 แนะนำให้ใช้สามล้อเครื่องราคาประมาณ 50 บาท โดยวัดในโซนที่ 2 ยังสามารถเดินไปตามตรอกหรือซอยเล็กๆได้ อาศัยถามคนแถวนั้น ส่วนโซนที่ 3 วัดสระเกศแลัวัดสุทัศนฯค่อนข้างอยู่ไกลกันมาก ต้องอาศัยสามล้อเครื่องครับ แต่หากท่านผู้อ่านจะใช้เดินเท้าก็ดีอีกแบบเป็นการออกกำลังกายไปด้วยโดยเดินตามถนน บริพัตรตัดเข้าสู่ถนนบำรุงเมือง

หัวข้อเกี่ยวข้อง
ไหว้พระ 9 วัด อยุธยา
ไหว้หลวงพ่อโต แหล่งท่องเที่ยวเบญจบูรพา
ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพปี 2558


พระพุทธโลกนาถ 

ประชาชนผู้มีบุตรยากแห่มาไหว้ขอบุตรกับพระพุทธโลกนาถ